การพลาดการต่อเที่ยวบิน (Missed Connecting Flight)
การพิจารณาสินไหม การพลาดการต่อเที่ยวบิน (Missed Connecting Flight) การพลาดเครื่องบิน การพลาดเที่ยวบิน
มาดูกันครับว่า เวลาที่เราทำประกันเดินทางไปต่างประเทศแล้ว เกิดพลาดการต่อเที่ยวบิน หรือ ตกเครื่องขึ้นมา ประกันเดินทางที่เราทำมา จะช่วยชดเชยเราได้อย่างไรบ้าง การพลาดเที่ยวบินนี้มักเกิดกับสายการบินที่เราบินด้วยหลายๆทอด เช่น บินในประเทศแล้วมาต่อเครื่องระหว่างประเทศ ยกตัวอย่าง เช่น เราเดินทางไปเที่ยวฝรั่งเศส ขากลับประเทศไทย เราจะออกจากเมืองนีซ มาต่อเครื่องที่ ปารีส หากว่าเที่ยวบินจาก นิซมาถึงปารีสช้ากว่า เครื่องบินที่จะบินออกจากปารีสมาประเทศไทย นั่นหมายความว่า เราตกเครื่องแน่นอนละครับ
ข้อสังเกตุที่สำคัญสำหรับกสารพลาดการต่อเที่ยวบินนี้ เราจะต้องซื้อตั๋วสายการบินที่เป็นสายการบินเดียวกัน หรือ ซื้อตั๋วเป็นใบเดียวกันตลอดการเดินทาง ยกตัวอย่างเช่น จะไปอังกฤษ จะซื้อตั๋วแบบว่า บินการบินไทยไปดูไบ แล้ว ซื้อตั๋วแยกอิีกใบ บินเอมิเรตส์จากดูไบไปอังกฤษ (ซึ่งไม่ค่อยมีใครทำกันเพราะทำให้ราคาแพง ยกเว้นเที่ยวบินในประเทศยากๆ)
ประกันเดินทางจะชดเชยค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มที่จำเป็น โดยเราเอาใบเสร็จมาเบิกหลังจากที่กลับมาถึงเมืองไทย โดยเราจะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ขนส่งในเรื่องการพลาดการต่อเที่ยวบินนี้ด้วยนะครับ การชดเชย อาจจะให้เราตามทุนประกันทุกๆ 6,8 หรือ 12 ชม แล้วแต่แบบประกันที่เราเลือกไป โดยจ่ายไม่เกินทุนประกัน ตามตารางกรมธรรม์ที่เราซื้อ
แต่ถ้าหากว่าเรามาถึงสนามบินที่เราจะต่อเครื่อง แล้วเครื่องที่เราต้องต่ออีกลำออกเดินทางไปแล้ว และทางสายการบินได้มีการชดเชยให้กับทางผู้โดยสารแล้ว เราก็จะไม่สามารถเบิกได้ เพราะบางทีสายการบินจะไม่ออกเอกสารมาให้เรา เนื่องจากสายการบินได้ชดเชยให้เราแล้ว ฉนั้นถึงแม้ว่าเราจะมีใบเสร็จค่าใช้จ่าย แต่ก็ไม่อาจเคลมได้เนื่องจากไม่มีจดหมายจากสายการบินนั่นเอง
หรือถ้าหากเราพลาดการต่อเที่ยวบิน แต่ไม่เกิน 8 ชม ใบเสร็จก็ไม่สามารถนำมาเบิกได้อีก เพราะระยะเวลาการพลาดการต่อเที่ยวบินไม่ถึงกำหนด เช่น เครื่องที่เราจะต่อ ออกเดินทางไปแล้ว แต่สายการบิน มีเครื่องลำถัดไปออกภายใน 5 ชม และเราได้ขึ้นเครื่องกลับบ้าน ถึงแม้ช้ากว่าเวลาเดิม แต่ก็ยังไม่เข้าเงื่อนไขตามเวลาที่ ประกันภัยการเดินทางกำหนดครับ
เห็นไหมครับ ทำประกันเดินทางไว้ไม่เสียหลายแน่นอน มีอีกหลายอย่างที่ประกันภัยการเดินทาง ดูแลเราระหว่างที่เราเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ อุ่นใจไหมละครับ
*** ตัวอย่างเคสที่เกิดขึ้นจริง สำหรับการพลาดการต่อเที่ยวบิน (MSIG)
ผู้เอาประกันซื้อตั๋วเครื่องบิน เป็นสายการบินเดียวกัน เดินทางออกจาก กทม ไปต่อเครื่องที่ ไต้หวัน เพื่อบินต่อไปแคนาดา กำหนดเครื่องบินออกจากไทย 17.10 ถึงไต้หวัน 21.45 และต่อเครื่อง 23.55 ออกเดินทางไป แคนาดา หลังจาก ผอป เชคอินที่สนามบิน สุวรรณภูมิแล้ว ก็เดินเข้าไปด้านใน รอที่ประตูขึ้นเครื่อง สายการบินประกาศว่าเที่ยวบินล่าช้า ยังไม่มีกำหนดเวลา เลยแจกคูปองให้ซื้่ออาหารในสนามบิน และวแจ้งอีกครั้งว่าเครื่องออกประมาณ สามทุ่ม แน่นอนครับว่าเคสนี้ ไปต่อเครื่องที่ไต้หวันไม่ทันแน่ๆ ทางสายการบินเลยนำผู้โดยสารไปพักค้าคืนที่ไต้หวัน 1 คืน แล้วมาบินเที่ยวบินวันถัดไป เพื่อเดินทางไปแคนาดา เคสนี้ในกรมธรรม์ระบุ ทุกๆ 6 ชม ประกันชดเชย 5,000 บาท ก็เลยเคลมได้ ท่านละ 20,000 บาท ประมาณ 20 กว่าท่าน ประกันจ่ายไป 500,000 กว่าบาท ทางเราดำเนินการมอบเชคให้บริษัทท่องเที่ยว นำไปมอบต่อให้กับผู้เอาประกันต่อไป เป็นกรมธรรม์แบบกรุ๊ป ที่ทางเราออกแบบให้ใช้สำหรับ บริษัทท่องเที่ยว
- ประกันเค้าไม่ทราบต้นสายปลายเหตุ จะพิจารณาจากเอกสารเป็นกลักเท่านั้น
- เคสนี้ครั้งแรกประกันจายเป็น เที่ยวบินล่าช้า เนื่องจาก บอร์ดดิ้งพาสที่ ผู้เอาประกันยื่น เป็นบอร์ดดิ้งพาสที่ระบุเที่ยวบินออกเดินทางเวลา 17.10 น แต่ไม่มีบอร์ดดิ้งพาสที่ระบุเวลาเครื่องออกจากไทยล่าช้าเลย ประกันเลยทำเชคจ่ายมา 8,000 บาท ต่อท่าน
- ทางสายการบินออกเอกสารที่ระบุว่า เที่ยวบินเลื่อนการเดินทางออกจาก กทม จากเวลา 17.10 เป็นเวลา สามทุ่มกว่า ทางเราแจงข้อมูลให้รปะกันอีกครั้ง ประกันกรุณาพิจารณาเคสนี้ให้เป็นเที่ยวบินล่าช้า ซึ่งคุ้มครองทุกๆ 6 ชม จ่าย 5,000 บาท เคสนี้พลาด 24 ชม ทาง ประกันจึงทำจ่ายเพิ่มเติมอีกท่านละ 12,000 บาท สรุปเคสนี้ ผู้เอาประกันรับเงินชดเชยจากประกันท่านละ 20,000 บาท
เหนืออื่นใดครับ การที่เราซื้อประกันเดินทางเอาไว้ เรื่องความไม่สะดวกสบายในการเดินทาง ถ้ามีความคุ้มครองประกันก็ดูแลให้ตามเงื่อนไข แต่ที่ทางเราจะเน้นข้อดีของการมีประกันคือ การรักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ และ การเจ็บป่วย ข้อนี้สำคัญที่สุดครับ ขอเน้นและยืนยันว่า การเดินทางไปต่างประเทศทุกครั้งให้ซื้อประกันเดินทางที่มีความคุ้มครองทั้งอุบัติเหตุและสุขภาพครับ
ขอให้เดินทางท่องเที่ยวให้สนุกและปลอดภัยครับ